เทปน้ำพุ่ง จะมีลักษณะ คล้ายกับ เทปน้ำหยด คือ เป็นท่อแบน และจะพองตัว หากมีน้ำส่งผ่านเทป แต่ต่าง จากเทปน้ำหยดตรงที่แผ่นน้ำหยดภายใน ตัวเทปน้ำพุ่งจะไม่มี แต่จะมีเพียงรูเล็กๆ หลายๆรู เพื่อให้น้ำพุ่ง ผ่านรูออกมาเป็นเส้นเล็กๆ หลายเส้น โดยเส้นน้ำเหล่านี้ จะกระจาย เป็นฝอยละอองเล็ก ๆ
และทั้งตัวเทปน้ำหยด และเทปน้ำพุ่งยังเป็นที่นิยมมากในปัจุบันอีกด้วย การใช้งานสำหรับพืชผัก ก็จะเหมาะสำหรับมะละกอ กล้วย แก้วมังกร พริก ทานตะวัน กะหล่ำปลี ฯลฯ
.
เทปน้ำพุ่ง ขนาด 6 หุน หรือ 22 มม
- หนา 0.20 มม
- ระยะห่างง 20 ซม.
- ใส่กับท่อ 6 หุน ได้พอดี
- ยาว 200 เมตร
- รุุ่นหนา เหนียว ทน
เทปน้ำพุ่ง ขนาด 1 นิ้ว หรือ 50 มม
- หนา 0.20 มม
- ระยะห่างง 20 ซม.
- ยาว 200 เมตร
- รุุ่นหนา เหนียว ทน
เทปน้ำพุ่ง ขนาด 1 นิ้ว หรือ 32 มม
- หนา 0.20 มม
- ระยะห่าง 25 ซม.
- ยาว 150 เมตร
- รุุ่นหนา เหนียว ทน
เทปน้ำพุ่ง ขนาด 1 นิ้ว หรือ 32 มม
- หนา 0.25 มม
- ระยะห่าง 20 ซม.
- ยาว 100 เมตร
- รุุ่นหนา เหนียว ทน
เทปน้ำพุ่ง มีกี่แบบ?
เทปน้ำพุ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ ก็คือ
ลักษณะของ เทปน้ำพุ่งแบบมีปีก
- แบบมีปีกจะต้องต่อเข้ากับบอลวาล์วขนาด 1″
- มีรูน้ำ 3 รูเรียงกัน
- ใน 1 เมตร จะมีรูทั้งหมด 12 รู
- มีความยาว 50 เมตร / เส้น
- ปริมาณการใช้น้ำ 360 ลิตร / นาที
- รัศมีของน้ำพุ่ง อยู่ที่ 2-3 เมตร
ลักษณะของ เทปน้ำพุ่งแบบไม่มีปีก
- แบบมีปีกจะต้องต่อเข้ากับบอลวาล์วขนาด 3/4″
- มีรูน้ำ 2 รู ซ้ายขวา
- ใน 1 เมตร จะมีรูน้ำทั้งหมด 18 รู
- มีความยาว 50 เมตร / เส้น
- ปริมาณการใช้น้ำ 240 ลิตร / นาที
- รัศมีของน้ำพุ่ง อยู่ที่ 2-2.5 เมตร
เทปน้ำพุ่งทั้งสองแบบนี้ แตกต่างกันอย่างไร?
เทปน้ำพุ่งแบบไม่มีปีก จะมีขนาดที่เล็ก กว่า เทปน้ำพุ่งแบบมีปีก ซึ่งแบบไม่มีปีกจะต่อเข้ากับ บอลวาล์วขนาดที่ 3/4″ แต่แบบมีปีกจะต่อเข้ากับ บอลวาล์วขนาด 1″ แบบไม่มีปีกจะมี รูน้ำเฉียง มีรูน้ำอยู่ 2 รู ซ้ายขวา แต่แบบมีปีก จะมีรูน้ำเรียงกัน 3 รู และในระยะ 1 เมตร รูน้ำของ ทั้งสองแบบ จะมีไม่เท่ากันแบบไม่มีปีก อยู่ที่ 18 รู แต่มีปีก จะอยู่ที่ 12 รู ปริมาณ การใช้น้ำ ของทั้งสองแบบ ก็แตกต่างกันออกไป แบบไม่มีปีกจะอยู่ที่ 240 ลิตร / นาที และมีปีกอยู่ที่ 360 ลิตร / นาที และในเรื่องของ รัศมีการให้น้ำ นั้น จะแตกกันเพียง 0.5 เมตร เท่านั้นเอง
**หมายเหตุ : เทป 1 เส้น ควรวางไม่เกิน 50 เมตร เพื่อให้น้ำออกเท่ากันตลอดสาย และป้องกันสายแตกด้วยคะ**
ข้อดีของการใช้งานระบบน้ำพุ่ง
- ติดตั้งได้ง่ายเช่นเดียวกับระบบน้ำหยด
- ประหยัดน้ำ ใช้ได้ดีในหน้าแล้ง
- ประหยัดเวลา สามารถปล่อยทิ้งไว้และไปทำงานอื่นได้
- ใช้แรงดันน้ำน้อย
- ดูแลรักษาง่าย สามารถเปิดล้าง ตะกอนใน ท่อกรองเกษตรได้
- สามารถให้น้ำได้ครอบคลุมพื้นที่ มากกว่า ระบบน้ำหยด เเละประยุกต์ใช้ กับการให้น้ำพืช ได้หลากหลาย ชนิด
- ราคาเบา เมื่อเปรียบเทียบ กับ ระบบการให้น้ำ รูปแบบอื่น ๆ อย่างระบบสปริงเกอร์
จะเห็นได้ว่าระบบน้ำพุ่งนี้ ครอบคลุมพืชพันธ์ุที่มีขนาดใหญ่กว่าพืชในเเปลงปลูกที่ใช้ระบบน้ำหยด เเถมยังมีระยะการให้น้ำที่ไปได้ไกลกว่าด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : superproducts
การติดตั้ง ระบบน้ำพุ่ง แบบง่ายๆ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก่อนการติดตั้ง
- เทปน้ำพุ่ง (ที่จะใช้งาน)
- กรรไกร หรือ มีดคัตเตอร์
- ตำแหน่ง หรือ พื้นที่ ในการจัดวาง เทปน้ำพุ่ง
- ระบบน้ำ ที่พร้อมจะจ่ายน้ำเข้าสู่ตัวเทปน้ำพุ่ง
- บอลวาล์ว PVC (ขนาดตามที่ต้องใช้งาน)
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ เรียบร้อยแล้ว เราไปดู ขั้นตอนการติดตั้ง กันเลยคะ
การติดตั้งเทปน้ำพุ่ง
ขั้นตอนที่1 เราต้องทำการ เก็บปลายสาย ก่อน โดย ตัดปลายสาย ประมาณ 2-3 นิ้ว
ขั้นตอนที่2 หลักจากตัด ปลายสายแล้ว ให้เรา พับปลายสาย ที่ไม่ได้ตัด พับไปประมาณ 2-3 ทบ แล้วก็ พับต่ออีกครึ่ง ทบ
ขั้นตอนที่3 บีบตรงที่ เราพับไว้ เข้าหากัน แล้วนำสาย ที่เราตัดไว้ ในตอนแรก มาสวมได้เลย (เทปน้ำพุ่งแบบมีปีก และ แบบไม่มีปีก จะใช้ วิธีเก็บปลายสาย ที่เหมือนกัน)
ขั้นตอนที่4 นำด้านหัวของ สายเทปน้ำพุ่ง มาสวมเข้ากับ บอลวาล์ว (ถ้าเป็น แบบมีปีก จะสวมเข้ากับ บอลวาล์ว ขนาด 1″ แบบไม่มีปีก จะสวมเข้ากับ บอลวาล์ว ขนาด 3/4″ )
ขั้นตอนที่5 หลังจากสวมสายเทปน้ำพุ่ง เข้ามาแล้ว เราก็ทำการ หมุนเกลียว ของบอลวาล์ว ออกมายึดกับตัวสายเทปให้แน่น เท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จ เรียบร้อย และพร้อมใช้งาน แล้วคะ
เทปน้ำพุ่งใช้งานได้ดี ด้วยคำยืนยันจากชาวสวน
หาซื้อเทปน้ำพุ่งได้ที่ไหนบ้าง ?
สามารถ คลิกลงตะกร้า จากเว็บไซต์เราได้เลยน้าาา นี่เลยค่ะ เอชดีเกษตร จัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์งานเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ท่อldpe ท่อhdpe และอุปกรณ์ ระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ วาล์วเกษตร และข้อต่อต่างๆ เราคัดเลือกแต่สิ่งดีๆ และคุ้มค่า ให้พี่น้องเกษตรกรชาวไทย
มาร่วม…..เป็นครอบครัวเดียวกับเรา HD KASET
#สิ่งดีๆเพื่อพี่น้องเกษตรกร โทรเลย.098-590-9292 , 086-339-1366