ระบบน้ำหยด เหมาะสำหรับรดน้ำพืชที่ต้องการปริมาณน้ำน้อย และสม่ำเสมอ เช่น แปลงไม้ดอก และแปลงผัก ปัจจุบัน ชาวสวนเกษตร ได้นำระบบนี้มาใช้ จนได้รับความนิยม เพราะการใช้ หัวน้ำหยด นี้ ทำให้สามารถควบคุมน้ำในสวนได้ และได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องมาคอยรดเอง ให้เสียเวาลา ถือว่าทั้งประหยัดแรง และประหยัดเวลาได้มากทีเดียว เอชดีเกษตร จะพามารู้จักกับ ระบบน้ำหยด อีกทั้งวิธีการเลือกซื้อ และข้อควรระวังในการใช้งานค่ะ
หัวข้อที่น่าสนใจ
- วิธีการ เลือกซื้อหัวน้ำหยด การวางระบบน้ำหยด แบบประหยัด
- หัวน้ำหยดมีกี่แบบ
- ข้อดีของระบบน้ำหยด
- ข้อควรระวังในการใช้งานหัวน้ำหยด
- สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วิธีการวางระบบน้ำหยด และเลือกซื้อ หัวน้ำหยด แบบประหยัด
การเลือกรูปแบบการให้น้ำระบบประหยัด ความแตกต่างของอุปกรณ์ให้น้ำแบบน้ำหยดแต่ละแบบก็จะเหมาะสมกับพืชแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการทั้งปริมาณและวิธีการให้น้ำที่ต่างกัน ท่อน้ำหยดจะเหมาะสำหรับการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเป็นแถวยาว ไม้ทุ่ม หรือต้นไม้ใหญ่และกรณีพืชที่ไม่ต้องการให้เปียกน้ำ ก็เลือกใช้หัวน้ำหยด หรือท่อน้ำหยดได้
การเดินท่อ ปลายท่อหยดไปที่กระถางแต่ละต้น
เดินท่อเป็นวงกลม รอบไม้พุ่ม
เดินท่อไปตามร่องพืชเป็นแถวๆ
การวางตำแหน่งอุปกรณ์
- กำหนดจำนวนอุปกรณ์น้ำหยดที่จะให้แก่พืช และตำแหน่งที่จะทำการติดตั้ง โดยให้พิจารณาจาก
ชนิดของดินและขนาดของระบบราก (ขอบเขตของรากในแนวนอน อุปกรณ์ให้น้ำที่เราเลือกควรจะให้น้ำได้ มากกว่า 50 % ของพื้นที่รากพืช อาจเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีอัตราการไหลต่างกัน โดยให้น้ำกับพืชบางต้นมากกว่า
หรือน้อยกว่าต้นอื่นๆในโชนเดียวกัน ถ้าต้องการใช้จำนวนอุปกรณ์มากที่สุดภายใน 1 โซน ให้เลือกหัว จ่ายน้ำที่ค่อยๆ จ่ายน้ำในอัตราน้อยที่สุด แล้วเพิ่มระยะเวลาการให้น้ำให้นานมากขึ้น
- กำหนดอุปกรณ์ที่เลือกให้และตำแหน่งจ่ายน้ำลงในแบบแปลนสวนพร้อมทั้งตำแหน่งที่ต้องใช้หัวจ่าย
น้ำชนิดชดเชยแรงดัน เช่น พื้นที่ลาดเอียง (Slope) จากนั้นวาดแนววางท่อ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์การให้น้ำต่างๆ ไปยังวาล์วควบคุมของแต่ละโซน
หัวน้ำหยดมีกี่แบบ
หัวน้ำหยดชนิดจ่ายน้ำออกทางหัว สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท หัวน้ำหยดชนิดไม่ชดเชยแรงดัน และ หัวน้ำหยดชนิดชดเชยแรงดัน
1. หัวน้ำหยดชนิดไม่ชดเชยแรงดัน ปรับอัตราการจ่ายน้ำได้
- แรงดันใช้งาน : 0.5 – 1.0 บาร์
- หัวสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้
- ใช้กับท่อไมโคร MT/PVC 3.4/6 มม. หรือท่อ MT/PE 3/5 มม.
- หัวน้ำหยด ไม่ชดเชยแรงดัน ปรับอัตราการจ่ายน้ำไม่ได้
- แรงดันใช้งาน : 0.5 – 1.0 บาร์
- หัวสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้
- ใช้กับท่อไมโคร MT/PVC 3.4/6 มม. หรือท่อ MT/PE 3/5 มม.
2. หัวน้ำหยดชนิดชดเชยแรงดัน
- แรงดันใช้งาน : 0.5 – 1.0 บาร์
- ใช้งานกับท่อไมโคร MT/PVC 3.4/6 มม. หรือท่อ MT/PE 3/5 มม.
ขอบคุณข้อมูลจาก www.superproducts.co.th
ข้อดีของ ระบบน้ำหยด
- ให้น้ำกับพืชได้ตรงจุด
- ค่อยๆ ปล่อยออกเป็นหยดน้ำเล็กๆออกมา ทำให้ดินชุ่มชื้น
- ไม่ทำให้น้ำเลอะฟุ้งออกจากพืชที่
- ใช้ปริมาณน้ำน้อย โดยสามารถความคุมปริมาณการจ่ายน้ำได้ดี
- ประหยัดน้ำ
- ไม่ต้องการเเรงดันน้ำในการทำงานมาก ทำให้ติดตั้งได้หลายจุด
- หัวหยดน้ำสามารถ ถอดออกมาล้างได้
ข้อควรระวังในการใช้งานหัวน้ำหยด
อุปกรณ์นี้ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ปัญหาที่ตามมาก็ไม่น้อยเหมือนกัน โดยมีปัญหาและวิธีแก้ไขดังนี้
- ส่วนหัวจ่ายไม่มีน้ำไหลออก มักเกิดขึ้นจากอุปกรณ์เกิดการอุดตัน ผงขยะ เศษตะกอน ที่มากับน้ำหรือคราบตะไคร้ต่าง ๆ วิธีการแก้ไขง่าย ๆ ก็คือ ให้ถอดอุปกรณ์ออกมาล้างทำความสะอาด ให้เรียบร้อย ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้
- หัวจ่ายหลุดบ่อย ปัญหานี้เกิดขึ้นจาก แรงดันของน้ำที่มาจากปั๊มมีมากเกินไป แก้ไขโดยให้ ตรวจสอบแรงดันของปั๊ม และถ้าพบว่าแรงดันมากไปก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนปั๊มเพื่อให้ได้แรงดันที่พอดี
สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การติดตั้งหัวน้ำหยดสะดวก และมีประสิทธิภาพ ควรเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับต่อหัวน้ำหยดเข้ากับระบบให้เหมาะสม
กับการใช้งาน และจะต้องดูขนาดของข้อต่อหรืออุปกรณ์ให้เข้ากันได้พอดี ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดการรั่วซึมในระบบได้
การต่อประกอบท่อและข้อต่อ พีอีเกษตร
ใช้ร่วมกับท่อ pe เกษตร และท่อ ldpe
- อุปกรณ์หลักในระบบลำเลียงนํ้าคือ ท่อส่งนํ้า ในปัจจุบันท่อที่นิยมใช้สำหรับส่งนํ้าในระบบรดน้ำ เพื่อการเกษตรมีสองชนิด ได้แก่ ท่อพีวีซี และท่อพีอี ท่อที่เป็นที่นิยมใช้กันมาก คือท่อพีวีซี เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย และคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการติดตั้งใช้งานท่อพีวีซีกันมายาวนาน แต่อย่างไรก็ตามท่อที่เหมาะสำหรับการใช้งานในระบบรดน้ำเพื่อการเกษตร มากกว่าคือท่อพีอี
แล้ว ท่อ LDPE กับ HDPE ต่างกันอย่างไร
LDPE กับท่อ HDPEเป็นท่อที่ ชาวสวน เกษตร นิยมใช้งานเป็นอย่างมาก แต่ก็ยัง สามารถใช้กับงานอื่นๆได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น งาน ระบบประปา ภายในบ้าน ภายนอกบ้าน งานข้าราชการ ต่างๆ
ldpe ย่อมาจากคำว่า (Low Density PolyEthyiene) ลักษณะ เป็น ท่อสีดำ ผลิต จากโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (0.910-0.940 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) การผลิตใช้แรงดันสูงจากกระบวนการที่เรียกว่า Free Radical Polymerization เป็นท่อที่เหมาะกับงานเกษตร เพราะท่องานเกษตร ไม่ได้ ใช้ทนความร้อน มากนัก ท่อldpe ทนอุณภูมิ ได้ 80-90 องศา ได้ในเวลาสั้นๆ ทนความร้อน ได้น้อยกว่าท่อ HDPE แต่สามารถ ทนสารเคมีได้ดี ราคาไม่แพง นิยมใช้ในงานเกษตรกรรมเป็นหลัก
หัวน้ำหยด ใช้งานคู่กับ
- ท่อเกษตร หรือ ท่อpe
- ตัวเจาะรู ท่อเกษตร
- ปลั๊กอุดรูซ่อม
นอกจากนี้ ก็ยังมี เทปน้ำหยด ระบบการทำงานจะคลายกัน แต่จะไม่สามารถกำหนดแรงดันได้นั่นเอง โดย มีลักษณะเป็นทั้งท่อจ่ายและหัวจ่ายน้ำในตัว ท่อเป็นลักษณะแบน จะพองตัวขึ้นเมื่อมีน้ำส่งผ่านเทป หัวจ่ายน้ำที่ติดมากับเทป
จะมีหลายหัว ระยะห่างและปริมาณน้ำจะแตกต่างกันไปแล้วแต่รุ่น หน่วยวัดความหนาของเทปน้ำหยดที่นิยมใช้มี 3 หน่วย
- ได้แก่ ไมครอน mil และมิลลิเมตร
- เทปน้ำหยด เหมาะสำหรับพืชล้มลุกและพืชไร่ที่ปลูกเป็นแถวยาว เช่น แคนตาลูป แตงโม มะเขือเทศ ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ
- มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และสตรอเบอรี่
• สามารถใช้งานได้ทั้งลักษณะการฝังใต้ดิน หรือวางไว้บนพื้นดินตามแนวการปลูกของพืช
• แรงดันใช้งาน 0.5 – 0.7 บาร์
• ทนต่อแสงแดด มีสารกันรังสียูวี สามารถใช้งานกลางแจ้งได้
• ควบคุมปริมาณน้ำสม่ำเสมอในทุกระยะหยด ทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน
• ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ลดจำนวนวัชพืช ประหยัดค่าจ้างแรงงาน
สั่งซื้อได้ที่ไหนบ้าง
สามารถ คลิกลงตะกร้า จากเว็บไซต์เราได้เลยน้าาา นี่เลยค่ะ เอชดีเกษตร จัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์งานเกษตร ไม่ว่จะเป็น ท่อldpe ท่อhdpe และอุปกรณ์ ระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ วาล์วเกษตร และข้อต่อต่างๆ เราคัดเลือกแต่สิ่งดีๆ และคุ้มค่า ให้พี่น้องเกษตรกรชาวไทย
มาร่วม…..เป็นครอบครัวเดียวกับเรา HD KASET
#สิงดีๆเพื่อพี่น้องเกษตรกร โทรเลย098-590-9292 , 086-339-1366