ระบบน้ำในสวน แบบไหนดี
เทคโนโลยีการเกษตร ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรอย่างมาก และทำให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้น้ำในสวนได้ที่ต้องการ ช่วยประหยัดค่าใช้งาน และลดแรงงาน อีกทั้งยังช่วยลดความเสียหายจากการขาดน้ำ หรือภัยแลง ระบบน้ำในสวน มีหลายแบบ ปัจจุบันชาวสวนนิยมใช้ระบบน้ำกันอย่างกว้างขวาง กับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะสวน ผัก และผลไม้ เอชดีเกษตรจึงมาแนะนำ ระบบน้ำที่ชาวสวนนิยมใช้กัน 2 ระบบ นั่นคือ 1.ระบบสปริงเกอร์ 2.ระบบน้ำหยด
หัวข้อที่น่าสนใจ
- ระบบสปริงเกอร์
- ระบบน้ำหยด
ระบบน้ำหยด
- เป็นรูปแบบการให้น้ำระบบประหยัด ความแตกต่างของอุปกรณ์ให้น้ำแบบน้ำหยดแต่ละแบบก็จะเหมาะสมกับพืชแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการทั้งปริมาณและวิธีการให้น้ำที่ต่างกัน ท่อน้ำหยดจะเหมาะสำหรับการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเป็นแถวยาว ไม้ทุ่ม หรือต้นไม้ใหญ่และกรณีพืชที่ไม่ต้องการให้เปียกน้ำ ก็เลือกใช้หัวน้ำหยด หรือท่อน้ำหยดได้
ขั้นตอนการติดตั้ง
- หลังจากเดินท่อหลักซึ่งโดยส่วนใหญ่ใช้ท่อ PVC จากตัวปั๊มเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการแยกท่อย่อย เข้าบริเวรที่ปลูกพืช ซึ่งท่อย่อยนี้ก็จะเป็นท่อ PE เกษตร ที่เป็นท่อพลาสติกอ่อนสีดำ สามารถโค้งหรืองอได้
- เจาะรูบนท่อ PE โดยใช้อุปกรณ์ สำหรับเจาะท่อ pe ที่เตรียมไว้
- ติดตั้งหัวน้ำหยดเข้าไปโดยตรงกับท่อ PE ตามจุด ที่เราต้องการ
- ปรับระดับความแรงข้องหัวน้ำหยดให้เป็นไปตามที่ต้องการของลักษณะความต้องการของพืชชนิดนั้นๆ
ข้อดีของ ระบบน้ำหยด
- ให้น้ำกับพืชได้ตรงจุด
- สามารถกำหนดเวลาและปริมาณน้ำได้
- ค่อยๆ ปล่อยออกเป็นหยดน้ำเล็กๆออกมา ทำให้ดินชุ่มชื้น
- ค่อยๆ ปล่อยออกเป็นหยดน้ำเล็กๆออกมา ทำให้ดินชุ่มชื้น
- ใช้ปริมาณน้ำน้อย โดยสามารถความคุมปริมาณการจ่ายน้ำได้ดี
- ประหยัดน้ำ
- ไม่ต้องการเเรงดันน้ำในการทำงานมาก ทำให้ติดตั้งได้หลายจุด
- หัวหยดน้ำสามารถ ถอดออกมาล้างได้
ข้อควรระวังในการใช้งานหัวน้ำหยด
อุปกรณ์นี้ถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ปัญหาที่ตามมาก็ไม่น้อยเหมือนกัน โดยมีปัญหาและวิธีแก้ไขดังนี้
1. ส่วนหัวจ่ายไม่มีน้ำไหลออก มักเกิดขึ้นจากอุปกรณ์เกิดการอุดตัน ผงขยะ เศษตะกอน ที่มากับน้ำหรือคราบตะไคร้ต่าง ๆ วิธีการแก้ไขง่าย ๆ ก็คือ ให้ถอดอุปกรณ์ออกมาล้างทำความสะอาด ให้เรียบร้อย ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้
2. หัวจ่ายหลุดบ่อย ปัญหานี้เกิดขึ้นจาก แรงดันของน้ำที่มาจากปั๊มมีมากเกินไป แก้ไขโดยให้ ตรวจสอบแรงดันของปั๊ม และถ้าพบว่าแรงดันมากไปก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนปั๊มเพื่อให้ได้แรงดันที่พอดี
นอกจากนี้ ก็ยังมี เทปน้ำหยด ระบบการทำงานจะคลายกัน แต่จะไม่สามารถกำหนดแรงดันได้นั่นเอง โดย มีลักษณะเป็นทั้งท่อจ่ายและหัวจ่ายน้ำในตัว ท่อเป็นลักษณะแบน จะพองตัวขึ้นเมื่อมีน้ำส่งผ่านเทป หัวจ่ายน้ำที่ติดมากับเทป
จะมีหลายหัว ระยะห่างและปริมาณน้ำจะแตกต่างกันไปแล้วแต่รุ่น หน่วยวัดความหนาของเทปน้ำหยดที่นิยมใช้มี 3 หน่วย
ได้แก่
- ไมครอน mil และมิลลิเมตร
- เทปน้ำหยด เหมาะสำหรับพืชล้มลุกและพืชไร่ที่ปลูกเป็นแถวยาว เช่น แคนตาลูป แตงโม มะเขือเทศ ข้าวโพด อ้อย ฯลฯ
- มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และสตรอเบอรี่
• สามารถใช้งานได้ทั้งลักษณะการฝังใต้ดิน หรือวางไว้บนพื้นดินตามแนวการปลูกของพืช
• แรงดันใช้งาน 0.5 – 0.7 บาร์
• ทนต่อแสงแดด มีสารกันรังสียูวี สามารถใช้งานกลางแจ้งได้
• ควบคุมปริมาณน้ำสม่ำเสมอในทุกระยะหยด ทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน
• ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ลดจำนวนวัชพืช ประหยัดค่าจ้างแรงงาน
หัวน้ำหยด ใช้งานคู่กับ
- ท่อเกษตร หรือ ท่อpe
- ตัวเจาะรู ท่อเกษตร
- ปลั๊กอุดรูซ่อม
ระบบสปริงเกอร์
สปริงเกอร์ เป็นระบบการบีบอัดน้ำ ที่หมุนเหวี่ยงโดยรอบ ทำให้น้ำกระจายเป็นวงกว้าง จึงช่วยทุนแรง และประหยัดเวลาในการรดน้ำ ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี วิธีติดตั้งระบบน้ำมินิสปริง เกอร์ (การติดตั้งระบบน้ำมินิสปริงเกอร์นั้นก็ไม่ได้ยากไปกว่าการติด ตั้งระบบน้ำหยด เพียงแต่มีวัสดุอุปกรณ์เพิ่มเข้าไปอีก คือ ไส้ไก่ หัวจุ๊บสีดำ 2 ด้าน และขาเสียบมินิสปริงเกอร์)
ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง สปริงเกอร์
1. พื้นที่ในการวาง สปริงเกอร์
2. การใช้งานหัวสปริงเกอร์
3. ขนาดของปั๊มน้ำ
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. หลังจากที่เดินท่อน้ำหลักด้วยท่อ PVC แล้วก็แยกย่อยด้วยท่อ PE ไปยังต้นพืชที่ต้องการ
2. เจาะรูบนท่อ PE สำหรับเสียบจุ๊บสีดำ
3. เสียบจุ๊บสีดำเพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างท่อ PE ตัวมินิสปริงเกอร์ด้วยไส้ไก่
4. จัดเตรียมชุดมินิสปริงเกอร์ด้วยการเสียบขาและตรวจดูขั้วจุ๊บสีดำที่ติดมากับมินิสปริงเกอร์ให้พร้อม
5. เสียบไส้ไก่หรือท่อเล็กเพื่อเชื่อมต่อเส้นน้ำมายังตัวมินิสปริงเกอร์แล้วนำไปปักดินในบริเวณที่ต้องการให้น้ำพืช ก็เป็นเสร็จอันเรียบร้อย
ขอบคุณข้อมูล thaiagrotech
ก่อนที่จะเลือกซื้อสปริงเกอร์ สิ่งสำคัญคือ การคำนวณพื้นที่ และออกแบบระบบน้ำ ที่จะใช้ในการติดตั้งเสมอ ว่ามีพื้นที่ทั้งหมดกี่ตารางเมตร กี่ไร่ ท่อเมน (ท่อหลัก) และ ท่อแยก อยู่ตรงไหน ขนาดเท่าไร เพื่อจะได้คำนวณจำนวนหัวสปริงเกอร์ที่ต้องใช้ได้ถูกต้อง
ระบบ Sprinkler มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
- หัวจ่ายน้ำ (Sprinkler Head) มีหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะ การฉีดน้ำ จะมีแบบ spray head,rotor หรือแบบน้ำหยด ทั้งนี้การเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้ เหมาะสม กับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดินและพืช
- วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่าง ต่ำ (24 โวลท์) จากคอนโทรลเลอร์ ในการสั่งการให้วาล์วเปิดปิด
- คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ ที่สั่งให้วาล์วไฟฟ้า เปิดปิดตามเวลา และระยะเวลา ที่กำหนดไว้
- เครื่องสูบน้ำ (Pump) ระบบสปริงเกอร์ ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูง จึงจำเป็นจะต้องมี เครื่องสูบน้ำที่เหมาะสมกับระบบโดยเฉพาะ
ข้อดี
- ระบบรดน้ำ สปริงเกลอร์ ตั้งเวลารดน้ำได้
- สะดวกสบายสำหรับผู้ที่ ไม่มีเวลาดูแลสวน เอง
- รดน้ำได้ เป็นวงกว้าง ประหยัดแรง และเวลา
- มีหลากหลายรูปแบบ เลือกได้ตามความ
- เหมาะสมกับรูปแบบและประเภทของการใช้งาน
- ประหยัดน้ำ เนื่องจากสามารถคุม และกำหนดเวลา ปริมาณในการรดน้ำต้นไม้ได้
- ช่วยทำให้พื้นที่บริเวณสวนของคุณมีอุณหภูมิเย็นขึ้น เพิ่มความชื้นในอากาศได้ดี
สั่งซื้อได้ที่ไหนบ้าง
สามารถ คลิกลงตะกร้า จากเว็บไซต์เราได้เลยน้าาา นี่เลยค่ะ เอชดีเกษตร จัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์งานเกษตร ไม่ว่จะเป็น ท่อldpe ท่อhdpe และอุปกรณ์ ระบบน้ำหยด ระบบสปริงเกอร์ วาล์วเกษตร และข้อต่อต่างๆ เราคัดเลือกแต่สิ่งดีๆ และคุ้มค่า ให้พี่น้องเกษตรกรชาวไทย
มาร่วม…..เป็นครอบครัวเดียวกับเรา HD KASET
#สิงดีๆเพื่อพี่น้องเกษตรกร โทรเลย098-590-9292 , 086-339-1366